............................อำเภอพนมไพรเป็นเมืองที่มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนานจากหลักฐานทางด้านเอกสาร ซึ่งบริเวณ อำเภอพนมไพร เดิมเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรขอมโบราณ
ชนกลุ่มแรกที่อพยพมาตั้งหลักแหล่งคือชาวข่าจะแด ซึ่งเป็นกลุ่มชนจากแถบอีสานตอนใต้มาตั้งบ้านเรือนอยู่บริเวณชายทุ่งใหญ่ด้านทิศใต้เมือง ในปัจจุบันชาวข่าตั้งชื่อเมือง
ของตนเองว่า เมืองยางคะบุรี (ปัจจุบันเป็นบ้านโนนม่วง ตำบลนานวล)
..........................ต่อมาเมื่อมีพลเมืองมากขึ้นจึงมีการขยายบ้านเมืองมาอยู่ทางดอนทิศเหนือเมืองเดิมและตั้งชื่อบ้านที่ขยายมาอยู่ใหม่ว่าบ้านจะแจ ซึ่งเป็นภาษาช่าวข่า ละบ้านจะแจนี้ถือว่า
เป็นจุดกำเนิดของอำเภอพนมไพร

     
.........................อำเภอพนมไพรเคยเป็นดินแดนที่ได้ชื่อว่ามีช้างเผือกมาก  จากคำบอกเล่านั้นกล่าวกันว่าอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษคือการทำนาและเลี้ยงช้าง  โดยเสร็จจากฤดูการทำนา
ชาวเมืองแสนจะข้ามโขงไปคล้องช้าง  เพื่อนำมาใช้งานซึ่งใช้ทั้งไถ่นาและเป็นพาหนะ    ในการคล้องช้างนั้นเคยคล้องได้ช้างเผือกหลายเชือก  จนกล่าวกันว่าเมืองแสนคือดินแดนช้างเผือก  
หรือเมืองแสนล้านช้างเพราะมีช้างมาก  คำบอดเล่าแห่งความเป็นดินแดนช้างเผือกนับเป็นความภาคภูมิใจของชาวอำเภอพนมไพรในปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง  หลักฐานที่กล่าวถึงช้างเผือกของ
เมืองแสนล้านช้างนั้นมีดังนี้
.........................พ.ศ.  2405  ในเดือน 4  พระรัตนวงศาอุปฮาดราชวงศ์เมืองสุวรรณภูมิ  คล้องได้ช้างพังสีประหลาดช้าง  1   ที่กระแจป่าฉมาตฉะบา  แขวงข่าลัดแด  สูง  3 ศอก  
1 คืบ  9  นิ้ว   ฝึกหัดเชื่องราบแล้วเดินช้างมาถึงจันทรเกษมวันเสาร์เดือน 4  ขึ้น 11 ค่ำ  พักช้างอยู่ที่วังจันทรเกษมแล้วเสด็จขึ้นไปสมโภช  3 วัน 3 คืนแล้วเสด็จพระราชดำเนินกลับลงมา
รับคำสั่งว่า  ช้างนี้จะจัดเอาเป็นช้างโทก็ได้  โปรดให้ปลูกโรงสมโภชหน้าพระที่นั่งสุทไธศวรรค์เหมือนอย่างพระศรีเศวตวิมลวรรณ  และให้ปลูกโรงอยู่ต่อยืนโรงพระเศวตวิมลวรรณอีกหลังหนึ่ง  
เจ้าพนักงานได้เร่งรัดกันทำโรงสมโภชและโรงอยู่
     
...........................ศักราช  1225  ปีกุน  เบญจศก  ปีที่ 13  โรงช้างทำแล้วช้างได้ลงแพล่องลงมาถึงวัดเขียน ณ  วันพฤหัสบดีเดือน  5  ขึ้น  15  ค่ำ  ได้เสด็จพระราชดำเนินขึ้นไปรับมาถึง
ท่าพระ  ครั้น ณ  วันศุกร์ เดือน 5  ขึ้น  15  ค่ำ  ได้แต่งช้างสีประหลาดลงไปรับทุกๆช้าง  แล้วเสด็จไปรับที่ท่าพระด้วย  ตามถนนที่แห่ช้างมานั้นมีราชวัติฉัตรเบญจรงค์ปักรายขึ้นมาถึงโรงสมโภช 
ครั้นเวลาบ่ายพระสงฆ์สวดพระพุทธมนต์  มีการมหรสพทำขวัญ 3  วัน  3  คืน  ช้างนั้นถ้าจะประสมสี ๆ  เหลืองเป็นพื้น  เจือแดงเจือฝุ่นน้อย  จารึกนามในท่อนอ้อยว่า  “ พระเศวตสุวรรณ
ภาพรรณ  สรรพางคพิบูลยลักษณ    บรมราชรัตนราชกริณี  ยิ่งอย่างดีศรีพระนคร  สุนทรสุรโสภณมิ่งมงคลคชคุณ  อดุลบกิริยามารยาท  ช้าช้างชาติอุโบสถ  ลักษณะปรากฏพร้อมมูล  
บริบูรณบัณฑรนับเนตร  โลมเกศกายฉวีวรรณศรีทองผ่องแผ้ว เป็นกุชรีแก้วกำเนิดพรหมพงศ์ราชบารมี  สมเด็จพระสยามาธิบดีปรเมนทรมหาราชวรวิลาสเลิศฟ้า”    พระราชทานให้ช้างรับ
ต่อพระหัตถ์  เสด็จการสมโภชตั้งชื่อแล้วก็แห่เข้ามาผูกยืนโรงไว้ที่ท่าใหม่  สวดมนต์ทำขวัญ  3  วัน  แล้วพระราชทานเสื้อผ้าเครื่องอุปโภคบริโภคให้พระรัตนวงศาและหมอควานกับเงิน  
10  ชั่ง  (ส.พลายน้อย . 2515: 423-424) 
............................ พ.ศ. 2414  ชาวเมืองแสนได้ไปต่อช้างที่ชะมาดชะบาบ้านพอกข่าระแด  แขวงจำปาศักดิ์คล้องได้ช้างพลายสีประหลาด  สูง  3  ศอกเศษ เพีนยมหาเสเนาและเพียขุนอาจ
หัวหน้ากองจึงมีใบไปบออกพระรัตนวงศา (คำผาย)  เจ้าเมืองสุวรรณภูมิ  พระรัตนวงศา (คำผาย) จึงมีใบไปบอกกรุงเทพฯต่อ   จึงโปรดเกล้าฯ  ให้รพยาเหมสมหารเจ้าเมืองราชสีมา  มาตรวจดู
เห็นถูกต้องตาราคชศาสตร์จึงโปรดเกล้าฯ  ให้รับช้างไว้  มีมหากรรมสมโภชขึ้นระวางขนานนามว่าพระเศวตสุวรรณาภาพรรณ  ตั้งให้หมอช้างเป็นขุนเศวตสารศรี  (ต้นตระกูลจันทร์พิทักษ์)  
บริเวณที่นำช้างมาเลี้ยงไว้รอคำสั่งจากเมืองสุวรรณภูมินั้น  คือบริเวณวัดป่าอัมพวัน  หรือวัดประชาธรรมรักษ์  บริเวณโนนที่เลี้ยงช้างเผือกมีชื่อเรยกว่า  โนนช้างเผือก  หรือคุ้มโนนศิลาเลข  
หมู่ที่  3   ตำบลพนมไพร  ในปัจจุบัน  ( แก้ว  ทิพย์อาสน์2523: 26-27 พิสมัย